วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่15

บันทึกอนุทิน ครั้งที่15
วัน อังคาร ที่ 28 เมษายน พ.ศ.2558

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education Program)


แผน IEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน  และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP


  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะได้ทราบว่าให้เริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้/เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนเเผนIEP

  • IEP ประกอบด้วย
    • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
    • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น เป็นสิ่งสำคัญมากครูเขียนเอง
    • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
    • ระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
    • ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
    • วิธีการประเมิน
    ประโยชน์ต่อเด็ก
    • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง
    • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
    • ได้รับการศึกษาเเละฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
    • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
    ประโยชน์ต่อครู
    • เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
    • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
    • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
    • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาความก้าวหน้าของเด็ก
    • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
    ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
    • มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
    • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
    • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
    ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

    1. การรวบรวมข้อมูล
    • รายงานทางการแพทย์
    • รายงานการประเมินด้านต่างๆ
    • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง 
    2. การจัดทำแผน
    • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
    • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
    • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
    • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
    การกำหนดจุดมุ่งหมาย
    1. ระยะยาว  เขียนแบบกว้างแต่ชัดเจนกำหนดเชิงพฤติกรรม
    2. ระยะสั้น   มีรายละเอียดเยอะ
    จุดมุ่งหมายระยะยาว 
    กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง เช่น 
    -  น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้   
    -  น้องดาวร่วมมือกับผู้ปกครองได้ดีขึ้น  
    -  น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

     จุดมุ่งหมายระยะสั้น
    • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก 
    • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
    1. จะสอนใคร
    2. พฤติกรรมอะไร
    3. เมื่อไหร่  ที่ไหน  (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
    4. พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

    1.
    • ใคร                               อรุณ
    • อะไร                             กระโดดเชือกขาเดียวได้
    • เมื่อไหร่/ที่ไหน            กิจกรรมกลางแจ้ง  
    • ดีขนาดไหน                 กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ภายใน 30 วินาที 
    2. 
    • ใคร                                ธนภรณ์
    • อะไร                              นั่งเงียบๆโดยไม่พูด
    • เมื่อไหร/ที่ไหน             ระหว่างครูเล่านิทาน
    • ดีขนาดไหน                  ช่วงเวลาการเล่นนิทาน 10-15 นาทีเป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน

    การใช้แผน 
    • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
    • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
    • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
    • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
    • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถโดยคำนึงถึง
    1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็ก
    2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
    3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
    4.การประเมินผล
    • จะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
    • ต้องกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
    **การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม  อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**




     กิจกรรมต่อไปอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเขียนแผนIEP โดยเลือกคนใดคนหนึ่งให้เป็นเด็กพิเศษแล้วระดมความคิดในการเขียนแผนIEP ร่วมกัน



    เมื่อเขียนแผนเสร็จกิจกรรมต่อไปก็คือสอบร้องเพลงโดยอาจารย์จะให้จับฉลากเลือกเพลงว่าจะได้ร้องเพลงไหน แล้วดิฉันก็ได้เพลง แปรงฟัน รู้สึกตื่นเต้นมากเพราะต้องเคาะจังหวะไปด้วยแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ
    สอบร้องเพลงแปรงฟัน




    การนำไปใช้

    1. การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่นำไปใช้ในการเขียนแผนIEPได้อย่างถูกต้องต้อง
    2. ทราบข้อมูลเด็กอย่างละเอียดสามารถเขียนแผนIEP แบบระยะสั้นและระยะยาวได้ถูกต้อง
    3. สามารถใช้วิธีในการประเมินผลที่เหมาะสมกับกิจกรรม
    4. ได้รู้จักเพลงหลากหลายมากขึ้นและสามารถร้องให้ตรงจังหวะได้
    การประเมิน
    ประเมินตนเอง  ตั้งใจเรียน ได้รู้เทคนิคการเขียนแผนที่ถูกต้องสามารถนำไปใช้ได้จริง ช่วยเพื่อนในการทำงานกลุ่มเต็มที่ ได้รู้จักเพลงและร้องเพลงตรงจังหวะจากการฟังเพื่อนๆร้องสอบหลายเพลง

    ประเมินเพื่อน   ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอน ตั้งใจทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออกในการร้องเพลงซึ่งส่วนใหญ่ก็ร้องได้ดีทุกคน บรรยากาศในห้องวันนี้ อบอุ่น ถึงวันนี้จะเป็นวันที่เรียนนานเพราะปิดคลอส แต่ก็สนุกสนานและไม่น่าเบื่อเลย 

    ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลาทุกครั้ง ดูแลใส่ใจนักศึกษาเป็นอย่างดี ค่อยให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆได้เสมอ มีวิธีการสอนที่ทำให้รู้สึกอบอุ่น ไม่เครียด ไม่ง่วง สอนเข้าใจ และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์ค่ะ








    บันทึกอนุทิน ครั้งที่14

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่14
    วัน จันทร์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ.2558


    ความรู้ที่ได้รับ
    วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบ และมีกิจกรรมสนุกๆมาให้เป็นเล่นนั่นก็คือ เกมทายใจเรื่องดิ่งพสุธา เพื่อเป็นการผ่อนคลายก่อนเรียน


    กิจกรรม ดิ่งพสุธา


    การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
    ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
    เป้าหมาย
    • ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
    • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
    • เด็กรู้สึกว่าฉันทำได้
    • พัฒนาความกระตือรือร้น  อยากรู้อยากเห็น
    • อยากสำรวจ อยากทดลอง
    ช่วงความสนใจ
    เด็กมีความสนใจใน10-15นาที
    • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
    • จดจ่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
    การเลียนแบบ  เช่น

    เลียนเเบบเพื่อน  ครู  คนที่โตกว่า  คนรอบข้าง

    การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ


    • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
    • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
    • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
    การรับรู้  การเคลื่อนไหว
    • ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น  แล้วตอบสนองได้อย่างเหมาะสม

    การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
    • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
    • ต่อบล็อก
    • ศิลปะ
    • มุมบ้าน
    • ช่วยเหลือตนเอง


    อุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

    • ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่

    • รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

    ความจำ
    • จากการสนทนา
    • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
    • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
    • จำตัวละครในนิทาน
    • จำชื่อครู เพื่อน
    • เล่นเกมทายของที่หายไป
    ทักษะคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์
    • การสังเกต
    • การวัด
    • การนับ
    • จำแนก


    จากภาพนี้ เราสามารถสอนให้เด็กรู้จักในเรื่องของมิติสัมพันธ์ เช่น ข้างใน-นอก ข้างบน ข้างลง แต่เด็กจะเข้าใจใช้เรียกว่าต่ำ หรือสูง

    การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

    • จัดกลุ่มเด็ก
    • เริ่มต้นการเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
    • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
    • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
    • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
    • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
    • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
    • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
    • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
    • พูดในทางที่ดี เช่น การชม
    • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว 
    • ทำบทเรียนให้สนุก
    การนำไปใช้


    1. ใช่ช่วงความสนใจของเด็กให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ
    2. เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กเพราะเด็กเรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบ
    3. ไม่ควรเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เด็กใช้ประจำขณะที่เด็กจับจนถนัดมือแล้วออกไป มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้ๆมือ
    4. ส่งเสริมการเรียนการสอนที่ตรงกับสิ่งที่เขาเป็นเพื่อให้เด็กได้พัฒนาการเรียนรู้ให้ครบทุกๆด้าน
    การประเมิน
    ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนตอบคำถามระหว่างเรียนอาจจะมีคุยกับเพื่อนบ้างบางครั้งแต่ก็ไม่ลืม จดบันทึกเนื้อหาระหว่างอาจารย์สอน ชอบกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้เล่นทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ได้หัวเราะ สนุกสนาน ก่อนเรียนเสมอ
     
    ประเมินเพื่อน  ตั้งใจเรียนทุกๆคนทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้เล่นอย่างสนุกสนานจนลืมร้อน  ตังใจจดเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอน 

    ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา เตรียมการสอนมาดี มีกิจกรรมสนุกๆมาให้เล่นเสมอทำให้นักศึกษาผ่อนคลายก่อนเรียน สอนเนื้อหาเข้าใจมียกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้กับเด็กพิเศษให้ดูในpower point 






    บันทึกอนุทิน ครั้งที่13

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่13
    วัน จันทร์ ที่ 13 เมษายน  พ.ศ.2558




    หมายเหตุ   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับเทศงกาลวันสงกรานต์
    ในวันที่ 13-15 เมษายน





    บันทึกอนุทิน ครั้งที่12

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่12
    วัน จันทร์ ที่ 6 เมษายน พ.ศ.2558




    หมายเหตุ  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับวันจักรี

    บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

    บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
    วัน จันทร์ ที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2558






    หมายเหตุ   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์สละเวลาให้ไปเรียนชดเชยวิชาศิลปะสร้างสรรค์แทน



    วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
    วันที่  23 มีนาคม 2558



    วันนี้เป็นการสอบเก็บคะแนนย่อย เพื่อทบทวนความรู้เดิมที่ได้เรียนมา




    บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9
    วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2558


    ความรู้ที่ได้ 
     กิจกรรมก่อนเรียนวันนี้  เป็นคำถามทางจิตวิทยาสนุกๆเกี่ยวกับไปเที่ยวสวนสตอว์เบอรี่



    เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 

    ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 
    • การกินอยู่
    • การเข้าห้องน้ำ
    • การแต่งตัว
    สิ่งเหล่านี้เด็กพิเศษสามารถทำได้ด้วยตนเองได้

    การสร้างความอิสระโดยที่ไม่พึ่งใคร
    • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
    • อยากทำงานตามความสามารถ
    • เลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อนและผู้ใหญ่
    ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
    • การทำได้ด้วยตนเอง
    • เชื่อมั่นในตนเอง
    • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
    หัดให้เด็กทำเอง

    • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น  
    • เด็กให้ช่วยอะไรก็ช่วยแค่นั้น
    • ไม่พูดว่า "หนูทำไม่ได้"  "หนูทำช้า"
    ตารางทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กแต่ละวัย







    จะช่วยเมื่อไหร่
    • เด็กจะมีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร เช่น  หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
    • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
    • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้  แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
    • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
    ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
    • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
    • เรียงลำดับตามขั้นตอน
     ตัวอย่างการย่อยงาน  การเข้าส้วม

    1.       เข้าไปในห้องน้ำ
    2.       ดึงกางเกงลง
    3.       ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
    4.       ปัสสาวะหรืออุจจาระ
    5.       ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
    6.       ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
    7.       กดชักโครกหรือตักน้ำราด
    8.       ดึงกางเกงขึ้น
    9.       ล้างมือ
    10.     เช็ดมือ
    11.      เดินออกจากห้องส้วม


    การวางแผนทีละขั้น
    • ต้องแยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้ได้มากที่สุด


    สรุป
    • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
    • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
    • ความสำเร็จขั้นเล็กๆ นำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
    • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
    • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

     กิจกรรมเพลง




    กิจกรรมต้นไม้แห่งชีวิต


    จากกิจกรรมนี้ ทำให้เราทราบว่าเด็กมีภาวะความรู้สึกอย่างไร เด็กมีความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้น สนุกเพลิดเพลิน พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก

    การนำไปประยุกต์ใช้
    1.        ให้อิสระเด็กทำสิ่งไม่ไปกดดันหรือพูดว่า"เด็กทำช้า"  "ทำไม่ได้"
    2.        ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็นเพราะเด็กจะทำเองไม่ได้
    3.         การสอนแบบการย่อยงาน เพื่อให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้
    4.      กิจกรรมต้นไม้แห่งชีวิตสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้เด็กได้ เพราะ เป็นกิจกรรมง่ายๆช   ให้เด็กผ่อนคลาย ส่งเสริมให้เด็กได้มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
    5.     การนำเพลงไปใช้สอนได้ เพราะ มีเนื้อเพลงที่สั้นเด็กจำได้ง่าย เหมาะสำหรับสอนเด็กร้องและเพลงยังมีส่วนช่วยสอนให้เด็กทำตามได้ตามเนื้อเพลงด้วย


    การประเมิน

    ประเมินตนเอง   แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเเละจดเนื้อหาเพิ่มเติม ตั้งใจทำกิจกรรมและเก็บอุปกรณ์เข้าที่เรียบร้อย  

    ประเมินเพื่อน  เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ทุกคนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมทุกคน

    ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพ สอนเข้าใจมีการยกเหตุการณ์ต่างๆเป็นตัวอย่างเพื่อให้เนื้อหาเข้าใจง่าย มีเกมกิจกรรมสนุกๆมาให้ทำเสมอไม่เครียด







    บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8
    วันที่ 9 มีนาคม  พ.ศ.2558


    กิจกรรมที่ 1  กิจกรรมแบบทดสอบทางจิตวิทยา ทุ่งหญ้าสะวันนา




    กิจกรรมที่ 2  VDO  ผลิบานผ่านมือครู "จังหวะกายจังหวะชีวิต"


    เป็นวีดีโอที่มีกิจกรรมที่น่าสนใจสามารถนำไปใช้สอนเด็กพิเศษได้  ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
    • กิจกรรมลูกกลิ้ง
    • กิจกรรมผึ้งย้ายรัง  (ใช้การเครื่องไหวร่างกาย จินตนาการ และบทบาทสมมุติ)
    • กิจกรรมการหยิบ  ยก  ส่ง (ฝึกความพร้อม)
    • กิจกรรมการใช้ห่วง โดยเด็กจะกระโดดเข้าออกจากห่วงได้
    • กิจกรรม รับส่งลูกบอล (เด็กได้รู้จักทิศทาง เช่น การรับ ส่งลูกบอล)
    • กิจกรรมกิ้งกือ (เพลง หอยโข่ง)
    เนื้อหาที่เรียน การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

    ทักษะทางภาษา
    • การวัดความสามารถทางภาษา
    • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
    • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
    • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
    • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
    • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

    การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
    • การพูดตกหล่น
    • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกสียง  
    • ติดอ่าง 

    การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
    • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
    • ห้ามบอกเด็กว่าพูดช้าๆ”  “ตามสบาย”  “คิดก่อนพูด
    • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
    • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
    • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
    • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

    ทักษะพื้นฐานทางภาษา
    • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
    • ทักษะการรับรู้ภาษา
    • การแสดงออกทางภาษา
    ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
    • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
    • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
    • ให้เวลาเด็กตอบ
    • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว
    • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
    • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
    • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง
    • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
    • ใช้คำถามปลายเปิด
    • เด็กพิเศษรับรู้ได้มากเท่าไหร่  ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
    • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
    การสอนตามเหตุการณ์


    ตัวอย่างการสอนตามเหตุการณ์


    กิจกรรมที่ 3  ดนตรีบำบัดเด็กพิเศษ  
    จับคู่ 2 คน จากนั้นฟังเสียงดนตรีที่อาจารย์เปิดแล้วให้ทั้งคู่ลากเส้นตรงไปพร้อมๆกันจนกว่าเสียงเพลงจะหยุด แล้วให้สังเกตดูเส้นที่ตัดกันให้ระบายสีลงไป

    จากกิจกรรมเด็กได้
    • ฝึกสมาธิและการสังเกต 
    • เกิดทักทักษะด้านมิติสัมพันธ์ 
    • ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับเพื่อน 
    • มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
    การนำไปใช้
    1. การนำกิจกรรมที่ได้จากการดู VDO ไปปรับใช้ในการสอนเด็กพิเศษหรือสอนเด็กปกติได้จริง
    2. ขณะที่เด็ํกพูดไม่ควรขัดจังหวะ ควรดูที่การสือความหมายของเด็กมากกว่าการออกเสียง
    3. การสอนตามเหตุการณ์ ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กพูดในสิ่งที่ต้องการ และในบริบทที่เด็กทำถ้าเด็กทำไม่ได้ ครูเข้าไปช่วยประครองมือทำ
    การประเมิน
    ประเมินตนเอง   เข้าห้องตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียนจดเนื้อหาเพิ่มเติม ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน

     ประเมินเพื่อน  ส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามเสมอ

    ประเมินอาจารย์    แต่งกายสุภาพ  เข้าสอนตรงเวลา  มีเทคนิคในการสอนที่สนุกและทำให้การเรียนเข้าใจง่ายขึ้น









    บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7 
    วันที่ 2 มีนาคม  พ.ศ.2558

    ความรู้ที่ได้รับ
    กิจกรรมรถไฟแห่งชีวิต   
    เป็นกิจกรรมก่อนเรียนโดยให้บรรยายความรู้สึกต่างๆจากคำถามที่ครูถามซึ่งเป็นคำถามทางจิตวิทยา สนุกๆ เพื่อให้ได้ผ่อนคลายก่อนเรียน




    เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
    1.ทักษะทางสังคม
    • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
    • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
    กิจกรรมการเล่น
    • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
    • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
    • ในช่วงแรกๆ  เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน เเต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
    ยุทธศาสตร์การสอน
    • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
    • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ 
    • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
    • ครูจดบันทึก
    • ทำแผน IEP ครูต้องรู้จักเด็กคนนั้นอย่างแท้จริงจึงจะเขียนได้
    การกระตุ้นการเลียนเเบบและการเอาอย่าง
    • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆ อย่าง
    • คำนึงถึงเด็กทุกคน
    • ให้เล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน 
    • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน"ครู" ให้เด็กพิเศษ
    ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
    • อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
    • ยิ้มและพยักหน้าให้ เมื่อเด็กหันมาหาครู
    • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
    • เอาวัสดุอุปรกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาในการเล่น (การเอาของให้เด็กเล่น ควรให้จำนวนของเล่นครึ่งหนึ่ง ต่อเด็ก  )
    • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

    การให้เเรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
    • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
    • ทำโดย"การพูดนำของครู"
    ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
    • ไม่ง่ายเลยสำหรับเด็กพิเศษ
    • การให้โอกาสเด็ก
    • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
    • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
    กิจกรรมดนตรีบำบัด เส้นและจุด



    จากกิจกรรมดนตรีบำบัดเด็กพิเศษ    เป็นกิจกรรมที่ฝึกสมาธิได้ดีเมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมนี้เเล้วเด็กจะได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้ทักษะการปรับตัวอยู่ร่วมกับเพื่อน เกิดความคิดสร้างสรรค์จินตนาการ และเสียงดนตรีก็ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดีในการทำกิจกรรม

    กิจกรรมร้องเพลง



    การนำไปประยุกต์
    1. เมื่อเด็กหันมาหาครูควรให้แรงเสริมโดยพยักหรือยิ้มให้
    2. แก้ไขพฤติกรรมให้ความช่วยเหลือเด็กให้ตรงจุดปัญหาที่เด็กเป็น
    3. ไม่อ้างให้เด็กพิเศษมีอภิสิทธิเหนือกว่าเด็กปกติ
    4.  กิจกรรมดนตรีบำบัดนั้นสามารถนำไปใช้สอนสำหรับเด็กได้จริง มีประโยชน์สามารถพัฒนาได้ครบทั้ง4ด้าน



    การประเมิน
    ประเมินตนเอง   เเต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ กิจกรรมสนุกสนาน ผ่อนคลายก่อนเข้าสู่บทเรียน

    ประเมินเพื่อน  เข้าห้องเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและจดบันทึกระหว่างเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามต่างๆได้เมื่ออาจารย์ถาม

    ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  มีกิจกรรมใหม่ๆ สนุกๆมาให้ทำเสมอ และมีเพลงที่หลากหลายมาสอนร้องในแต่ละสัปดาห์เสมอ 














    บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
    วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


    วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นสัปดาห์ช่วงสอบกลางภาค 2/2558 



    วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

    บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

    ความรู้ที่ได้รับ 

    กิจกรรมวันนี้
    • ด้านซ้าย ถอดถุงมืออกมาแล้ววาดให้เหมือนจริง   
    • ด้านขาว ให้สวมถุงมือและสเก็ตรูปมือ

      
                 จากกิจกรรม  จะเห็นได้ว่าการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของเด็กไม่ควรใช้การจำ ควรบันทึกตามที่เด็กทำพฤติกรรมต่างๆในขณะนั้น  ทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่คลาดเคลื่อน เปรียบเสมือนมือของเราที่เห็นอยู่ทุกวันแต่เราก็ยังไม่สามารถจดจำลายละเอียดได้ทั้งหมด  

      
    เนื้อหาที่เรียนในวันนี้เรื่อง  การสอนเด็กพิเศษเเละเด็กปกติ

    ทักษะของครูและทัศนคติ 

    การฝึกเพิ่มเติม
    • อบรมระยะสั้น หรือ สัมมนา 
    • สื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ครู
    การเข้าใจภาวะปกติ
    • เด็มักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่างกัน
    • ครูมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษเท่ากัน
    • รู้จักแต่เเต่ละคน (ควรจำชื่อจริง ชื่อเล่นเด็กให้ได้ทุกคน)
    • มองเด็กให้เป็น"เด็ก"
    การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
         
               การเข้าใจพัฒนาการเด็กช่วยให้ ครูเข้าใจความเเตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
      
    ความพร้อมของเด็ก
    • วุฒิภาวะ
    • เเรงจูงใจ
    • โอกาส  
    การสอนโดยบังเอิญ
    • ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
    • เมื่อเด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
    • ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
    • ครูต้องมีความสนใจเด็ก
    • ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
    • ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมที่ล่อใจเด็ก
    • ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
    • ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
    • ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนานเด็กอยู่ด้วยจะได้สบายใจ
    อุปกรณ์
    • มีลักษณะง่ายๆ
    • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
    • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
    • เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
    ทัศนคติของครู 
    1. ความยืดหยุ่น
    • การเเก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
    • ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็กได้
    • ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน ข้อนี้สำคัญมาก!
    2. การใช้สหวิทยาการ
    • ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลอาชีพอื่นๆ
    • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
    3.  เด็กทุกคนสอนได้
    • เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ ครูไม่ควรมองเด็กแบบข้อนี้!
    • เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
    4.  วิธีแสดงออกจากเเรงเสริมของผู้ใหญ่
    • ตอบสนองด้วยวาจา เช่น คำชมต่างๆ
    • การยืนหรือการนั่งใกล้เด็ก
    • พยักหน้ารับ ยิ้ม  ฟัง
    • สัมผัสทางกาย
    • ให้ความช่วยเหลือ  ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
    การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้ 

    เทคนิคการให้แรงเสริม

    เเรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
    • ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
    • มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
    • หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆ ก็จะลดลงและหายไป
    หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
    • ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมอันพึงประสงค์
    • ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
    • ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
    การแนะนำหรือบอกบท (prompting)
    • ย่อยงาน
    • ลำดับความยากง่ายของงาน
    • การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
    • การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
    ขั้นตอนการให้แรงเสริม
    • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
    • วิเคราะห์งาน  กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
    • สอนจากง่ายไปยาก
    • ให้เเรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเพื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
    • ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวในขั้นต่อไป
    • ให้เเรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ไกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
    • ทีละขั้นไม่เร่งรัด"ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น" 
    • ไม่ดุหรือตี
    การกำหนดเวลา
    • จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
    ความต่อเนื่อง
    • พฤติกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน
    • เช่น การเข้าห้องน้ำ  การนอนพักผ่อน  การหยิบและเก็บของ
    • สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
    การลดหรือหยุดแรงเสริม
    • ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
    • ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
    • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นของไปจากเด็ก
    • เอาเด็กออกจากการเล่น
    ความคงเส้นคงวา
    • ครูเริ่มกับเด็กมาอย่างไรต้องปฏิบัติแบบเดิมกับเด็ก
    การนำไปใช้
    1. การสังเกตเด็กต้องบันทึกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงและไม่ควรใช้การจำแล้วค่อยมาบันทึกเพราะจะทำให้ข้อมูลที่ได้คลาดเคลื่อน
    2. การปรับตัวให้มีทัศนะคติที่ดีกับเด็กเชื่อว่าเด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
    3. การนำการย่อยงานไปสอนเพื่อให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น
    4. การนำเทคนิคการเสริมแรงและลดแรงเสริมไปใช้เพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
    การประเมิน
    ประเมินตนเอง   เข้าห้องตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรม  อาจจะพูดมากในเวลาเรียนบางครั้ง แต่ก็มีจดเนื้อหาเพิ่มเติมบ้าง เข้าใจในบทเรียน

    ประเมินเพื่อน  เเต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนมีจดเนื้อหาเพิ่มเติมและมีส่วนร่วมในการเรียน ตอบคำถามได้เมื่ออาจารย์ถาม  ช่วยเก็บอุปกรณ์หลังทำกิจกรรทำเสร็จ

    ประเมินอาจารย์  อาจารย์ใจดี น่ารัก เป็นที่ปรึกษาของนักศึกษาได้ดี เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีกิจกรรมมาให้ทำก่อนเรียนเสมอสอนเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ และได้ทบทวนเพลงที่ืเคยร้องไป