วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่14

บันทึกอนุทิน ครั้งที่14
วัน จันทร์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ.2558


ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบ และมีกิจกรรมสนุกๆมาให้เป็นเล่นนั่นก็คือ เกมทายใจเรื่องดิ่งพสุธา เพื่อเป็นการผ่อนคลายก่อนเรียน


กิจกรรม ดิ่งพสุธา


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
  • ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่าฉันทำได้
  • พัฒนาความกระตือรือร้น  อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
เด็กมีความสนใจใน10-15นาที
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ  เช่น

เลียนเเบบเพื่อน  ครู  คนที่โตกว่า  คนรอบข้าง

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ


  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้  การเคลื่อนไหว
  • ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น  แล้วตอบสนองได้อย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง


อุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

  • ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่

  • รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์
  • การสังเกต
  • การวัด
  • การนับ
  • จำแนก


จากภาพนี้ เราสามารถสอนให้เด็กรู้จักในเรื่องของมิติสัมพันธ์ เช่น ข้างใน-นอก ข้างบน ข้างลง แต่เด็กจะเข้าใจใช้เรียกว่าต่ำ หรือสูง

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นการเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี เช่น การชม
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว 
  • ทำบทเรียนให้สนุก
การนำไปใช้


  1. ใช่ช่วงความสนใจของเด็กให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ
  2. เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กเพราะเด็กเรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบ
  3. ไม่ควรเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เด็กใช้ประจำขณะที่เด็กจับจนถนัดมือแล้วออกไป มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้ๆมือ
  4. ส่งเสริมการเรียนการสอนที่ตรงกับสิ่งที่เขาเป็นเพื่อให้เด็กได้พัฒนาการเรียนรู้ให้ครบทุกๆด้าน
การประเมิน
ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนตอบคำถามระหว่างเรียนอาจจะมีคุยกับเพื่อนบ้างบางครั้งแต่ก็ไม่ลืม จดบันทึกเนื้อหาระหว่างอาจารย์สอน ชอบกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้เล่นทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ได้หัวเราะ สนุกสนาน ก่อนเรียนเสมอ
 
ประเมินเพื่อน  ตั้งใจเรียนทุกๆคนทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้เล่นอย่างสนุกสนานจนลืมร้อน  ตังใจจดเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอน 

ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา เตรียมการสอนมาดี มีกิจกรรมสนุกๆมาให้เล่นเสมอทำให้นักศึกษาผ่อนคลายก่อนเรียน สอนเนื้อหาเข้าใจมียกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้กับเด็กพิเศษให้ดูในpower point 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น