วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8
วันที่ 9 มีนาคม  พ.ศ.2558


กิจกรรมที่ 1  กิจกรรมแบบทดสอบทางจิตวิทยา ทุ่งหญ้าสะวันนา




กิจกรรมที่ 2  VDO  ผลิบานผ่านมือครู "จังหวะกายจังหวะชีวิต"


เป็นวีดีโอที่มีกิจกรรมที่น่าสนใจสามารถนำไปใช้สอนเด็กพิเศษได้  ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
  • กิจกรรมลูกกลิ้ง
  • กิจกรรมผึ้งย้ายรัง  (ใช้การเครื่องไหวร่างกาย จินตนาการ และบทบาทสมมุติ)
  • กิจกรรมการหยิบ  ยก  ส่ง (ฝึกความพร้อม)
  • กิจกรรมการใช้ห่วง โดยเด็กจะกระโดดเข้าออกจากห่วงได้
  • กิจกรรม รับส่งลูกบอล (เด็กได้รู้จักทิศทาง เช่น การรับ ส่งลูกบอล)
  • กิจกรรมกิ้งกือ (เพลง หอยโข่ง)
เนื้อหาที่เรียน การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางภาษา
  • การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกสียง  
  • ติดอ่าง 

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่าพูดช้าๆ”  “ตามสบาย”  “คิดก่อนพูด
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กตอบ
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้ได้มากเท่าไหร่  ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์


ตัวอย่างการสอนตามเหตุการณ์


กิจกรรมที่ 3  ดนตรีบำบัดเด็กพิเศษ  
จับคู่ 2 คน จากนั้นฟังเสียงดนตรีที่อาจารย์เปิดแล้วให้ทั้งคู่ลากเส้นตรงไปพร้อมๆกันจนกว่าเสียงเพลงจะหยุด แล้วให้สังเกตดูเส้นที่ตัดกันให้ระบายสีลงไป

จากกิจกรรมเด็กได้
  • ฝึกสมาธิและการสังเกต 
  • เกิดทักทักษะด้านมิติสัมพันธ์ 
  • ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับเพื่อน 
  • มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
การนำไปใช้
  1. การนำกิจกรรมที่ได้จากการดู VDO ไปปรับใช้ในการสอนเด็กพิเศษหรือสอนเด็กปกติได้จริง
  2. ขณะที่เด็ํกพูดไม่ควรขัดจังหวะ ควรดูที่การสือความหมายของเด็กมากกว่าการออกเสียง
  3. การสอนตามเหตุการณ์ ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กพูดในสิ่งที่ต้องการ และในบริบทที่เด็กทำถ้าเด็กทำไม่ได้ ครูเข้าไปช่วยประครองมือทำ
การประเมิน
ประเมินตนเอง   เข้าห้องตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียนจดเนื้อหาเพิ่มเติม ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน

 ประเมินเพื่อน  ส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามเสมอ

ประเมินอาจารย์    แต่งกายสุภาพ  เข้าสอนตรงเวลา  มีเทคนิคในการสอนที่สนุกและทำให้การเรียนเข้าใจง่ายขึ้น









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น