วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่15

บันทึกอนุทิน ครั้งที่15
วัน อังคาร ที่ 28 เมษายน พ.ศ.2558

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education Program)


แผน IEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน  และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP


  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะได้ทราบว่าให้เริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้/เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนเเผนIEP

  • IEP ประกอบด้วย
    • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
    • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น เป็นสิ่งสำคัญมากครูเขียนเอง
    • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
    • ระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
    • ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
    • วิธีการประเมิน
    ประโยชน์ต่อเด็ก
    • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง
    • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
    • ได้รับการศึกษาเเละฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
    • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
    ประโยชน์ต่อครู
    • เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
    • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
    • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
    • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาความก้าวหน้าของเด็ก
    • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
    ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
    • มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
    • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
    • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
    ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

    1. การรวบรวมข้อมูล
    • รายงานทางการแพทย์
    • รายงานการประเมินด้านต่างๆ
    • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง 
    2. การจัดทำแผน
    • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
    • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
    • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
    • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
    การกำหนดจุดมุ่งหมาย
    1. ระยะยาว  เขียนแบบกว้างแต่ชัดเจนกำหนดเชิงพฤติกรรม
    2. ระยะสั้น   มีรายละเอียดเยอะ
    จุดมุ่งหมายระยะยาว 
    กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง เช่น 
    -  น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้   
    -  น้องดาวร่วมมือกับผู้ปกครองได้ดีขึ้น  
    -  น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

     จุดมุ่งหมายระยะสั้น
    • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก 
    • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
    1. จะสอนใคร
    2. พฤติกรรมอะไร
    3. เมื่อไหร่  ที่ไหน  (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
    4. พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

    1.
    • ใคร                               อรุณ
    • อะไร                             กระโดดเชือกขาเดียวได้
    • เมื่อไหร่/ที่ไหน            กิจกรรมกลางแจ้ง  
    • ดีขนาดไหน                 กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ภายใน 30 วินาที 
    2. 
    • ใคร                                ธนภรณ์
    • อะไร                              นั่งเงียบๆโดยไม่พูด
    • เมื่อไหร/ที่ไหน             ระหว่างครูเล่านิทาน
    • ดีขนาดไหน                  ช่วงเวลาการเล่นนิทาน 10-15 นาทีเป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน

    การใช้แผน 
    • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
    • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
    • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
    • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
    • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถโดยคำนึงถึง
    1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็ก
    2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
    3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
    4.การประเมินผล
    • จะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
    • ต้องกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
    **การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม  อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**




     กิจกรรมต่อไปอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเขียนแผนIEP โดยเลือกคนใดคนหนึ่งให้เป็นเด็กพิเศษแล้วระดมความคิดในการเขียนแผนIEP ร่วมกัน



    เมื่อเขียนแผนเสร็จกิจกรรมต่อไปก็คือสอบร้องเพลงโดยอาจารย์จะให้จับฉลากเลือกเพลงว่าจะได้ร้องเพลงไหน แล้วดิฉันก็ได้เพลง แปรงฟัน รู้สึกตื่นเต้นมากเพราะต้องเคาะจังหวะไปด้วยแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ
    สอบร้องเพลงแปรงฟัน




    การนำไปใช้

    1. การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่นำไปใช้ในการเขียนแผนIEPได้อย่างถูกต้องต้อง
    2. ทราบข้อมูลเด็กอย่างละเอียดสามารถเขียนแผนIEP แบบระยะสั้นและระยะยาวได้ถูกต้อง
    3. สามารถใช้วิธีในการประเมินผลที่เหมาะสมกับกิจกรรม
    4. ได้รู้จักเพลงหลากหลายมากขึ้นและสามารถร้องให้ตรงจังหวะได้
    การประเมิน
    ประเมินตนเอง  ตั้งใจเรียน ได้รู้เทคนิคการเขียนแผนที่ถูกต้องสามารถนำไปใช้ได้จริง ช่วยเพื่อนในการทำงานกลุ่มเต็มที่ ได้รู้จักเพลงและร้องเพลงตรงจังหวะจากการฟังเพื่อนๆร้องสอบหลายเพลง

    ประเมินเพื่อน   ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอน ตั้งใจทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออกในการร้องเพลงซึ่งส่วนใหญ่ก็ร้องได้ดีทุกคน บรรยากาศในห้องวันนี้ อบอุ่น ถึงวันนี้จะเป็นวันที่เรียนนานเพราะปิดคลอส แต่ก็สนุกสนานและไม่น่าเบื่อเลย 

    ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลาทุกครั้ง ดูแลใส่ใจนักศึกษาเป็นอย่างดี ค่อยให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆได้เสมอ มีวิธีการสอนที่ทำให้รู้สึกอบอุ่น ไม่เครียด ไม่ง่วง สอนเข้าใจ และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์ค่ะ








    บันทึกอนุทิน ครั้งที่14

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่14
    วัน จันทร์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ.2558


    ความรู้ที่ได้รับ
    วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบ และมีกิจกรรมสนุกๆมาให้เป็นเล่นนั่นก็คือ เกมทายใจเรื่องดิ่งพสุธา เพื่อเป็นการผ่อนคลายก่อนเรียน


    กิจกรรม ดิ่งพสุธา


    การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
    ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
    เป้าหมาย
    • ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
    • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
    • เด็กรู้สึกว่าฉันทำได้
    • พัฒนาความกระตือรือร้น  อยากรู้อยากเห็น
    • อยากสำรวจ อยากทดลอง
    ช่วงความสนใจ
    เด็กมีความสนใจใน10-15นาที
    • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
    • จดจ่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
    การเลียนแบบ  เช่น

    เลียนเเบบเพื่อน  ครู  คนที่โตกว่า  คนรอบข้าง

    การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ


    • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
    • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
    • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
    การรับรู้  การเคลื่อนไหว
    • ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น  แล้วตอบสนองได้อย่างเหมาะสม

    การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
    • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
    • ต่อบล็อก
    • ศิลปะ
    • มุมบ้าน
    • ช่วยเหลือตนเอง


    อุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

    • ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่

    • รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

    ความจำ
    • จากการสนทนา
    • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
    • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
    • จำตัวละครในนิทาน
    • จำชื่อครู เพื่อน
    • เล่นเกมทายของที่หายไป
    ทักษะคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์
    • การสังเกต
    • การวัด
    • การนับ
    • จำแนก


    จากภาพนี้ เราสามารถสอนให้เด็กรู้จักในเรื่องของมิติสัมพันธ์ เช่น ข้างใน-นอก ข้างบน ข้างลง แต่เด็กจะเข้าใจใช้เรียกว่าต่ำ หรือสูง

    การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

    • จัดกลุ่มเด็ก
    • เริ่มต้นการเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
    • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
    • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
    • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
    • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
    • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
    • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
    • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
    • พูดในทางที่ดี เช่น การชม
    • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว 
    • ทำบทเรียนให้สนุก
    การนำไปใช้


    1. ใช่ช่วงความสนใจของเด็กให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ
    2. เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กเพราะเด็กเรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบ
    3. ไม่ควรเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เด็กใช้ประจำขณะที่เด็กจับจนถนัดมือแล้วออกไป มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้ๆมือ
    4. ส่งเสริมการเรียนการสอนที่ตรงกับสิ่งที่เขาเป็นเพื่อให้เด็กได้พัฒนาการเรียนรู้ให้ครบทุกๆด้าน
    การประเมิน
    ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนตอบคำถามระหว่างเรียนอาจจะมีคุยกับเพื่อนบ้างบางครั้งแต่ก็ไม่ลืม จดบันทึกเนื้อหาระหว่างอาจารย์สอน ชอบกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้เล่นทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ได้หัวเราะ สนุกสนาน ก่อนเรียนเสมอ
     
    ประเมินเพื่อน  ตั้งใจเรียนทุกๆคนทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้เล่นอย่างสนุกสนานจนลืมร้อน  ตังใจจดเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอน 

    ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา เตรียมการสอนมาดี มีกิจกรรมสนุกๆมาให้เล่นเสมอทำให้นักศึกษาผ่อนคลายก่อนเรียน สอนเนื้อหาเข้าใจมียกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้กับเด็กพิเศษให้ดูในpower point 






    บันทึกอนุทิน ครั้งที่13

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่13
    วัน จันทร์ ที่ 13 เมษายน  พ.ศ.2558




    หมายเหตุ   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับเทศงกาลวันสงกรานต์
    ในวันที่ 13-15 เมษายน





    บันทึกอนุทิน ครั้งที่12

    บันทึกอนุทิน ครั้งที่12
    วัน จันทร์ ที่ 6 เมษายน พ.ศ.2558




    หมายเหตุ  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับวันจักรี

    บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

    บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
    วัน จันทร์ ที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2558






    หมายเหตุ   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์สละเวลาให้ไปเรียนชดเชยวิชาศิลปะสร้างสรรค์แทน