วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
วันที่  23 มีนาคม 2558



วันนี้เป็นการสอบเก็บคะแนนย่อย เพื่อทบทวนความรู้เดิมที่ได้เรียนมา




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9
วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2558


ความรู้ที่ได้ 
 กิจกรรมก่อนเรียนวันนี้  เป็นคำถามทางจิตวิทยาสนุกๆเกี่ยวกับไปเที่ยวสวนสตอว์เบอรี่



เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 
  • การกินอยู่
  • การเข้าห้องน้ำ
  • การแต่งตัว
สิ่งเหล่านี้เด็กพิเศษสามารถทำได้ด้วยตนเองได้

การสร้างความอิสระโดยที่ไม่พึ่งใคร
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อนและผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การทำได้ด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง

  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น  
  • เด็กให้ช่วยอะไรก็ช่วยแค่นั้น
  • ไม่พูดว่า "หนูทำไม่ได้"  "หนูทำช้า"
ตารางทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กแต่ละวัย







จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กจะมีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร เช่น  หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้  แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
 ตัวอย่างการย่อยงาน  การเข้าส้วม

1.       เข้าไปในห้องน้ำ
2.       ดึงกางเกงลง
3.       ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
4.       ปัสสาวะหรืออุจจาระ
5.       ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
6.       ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
7.       กดชักโครกหรือตักน้ำราด
8.       ดึงกางเกงขึ้น
9.       ล้างมือ
10.     เช็ดมือ
11.      เดินออกจากห้องส้วม


การวางแผนทีละขั้น
  • ต้องแยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้ได้มากที่สุด


สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆ นำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

 กิจกรรมเพลง




กิจกรรมต้นไม้แห่งชีวิต


จากกิจกรรมนี้ ทำให้เราทราบว่าเด็กมีภาวะความรู้สึกอย่างไร เด็กมีความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้น สนุกเพลิดเพลิน พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก

การนำไปประยุกต์ใช้
  1.        ให้อิสระเด็กทำสิ่งไม่ไปกดดันหรือพูดว่า"เด็กทำช้า"  "ทำไม่ได้"
  2.        ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็นเพราะเด็กจะทำเองไม่ได้
  3.         การสอนแบบการย่อยงาน เพื่อให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้
  4.      กิจกรรมต้นไม้แห่งชีวิตสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้เด็กได้ เพราะ เป็นกิจกรรมง่ายๆช   ให้เด็กผ่อนคลาย ส่งเสริมให้เด็กได้มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
  5.     การนำเพลงไปใช้สอนได้ เพราะ มีเนื้อเพลงที่สั้นเด็กจำได้ง่าย เหมาะสำหรับสอนเด็กร้องและเพลงยังมีส่วนช่วยสอนให้เด็กทำตามได้ตามเนื้อเพลงด้วย


การประเมิน

ประเมินตนเอง   แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเเละจดเนื้อหาเพิ่มเติม ตั้งใจทำกิจกรรมและเก็บอุปกรณ์เข้าที่เรียบร้อย  

ประเมินเพื่อน  เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ทุกคนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมทุกคน

ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพ สอนเข้าใจมีการยกเหตุการณ์ต่างๆเป็นตัวอย่างเพื่อให้เนื้อหาเข้าใจง่าย มีเกมกิจกรรมสนุกๆมาให้ทำเสมอไม่เครียด







บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8
วันที่ 9 มีนาคม  พ.ศ.2558


กิจกรรมที่ 1  กิจกรรมแบบทดสอบทางจิตวิทยา ทุ่งหญ้าสะวันนา




กิจกรรมที่ 2  VDO  ผลิบานผ่านมือครู "จังหวะกายจังหวะชีวิต"


เป็นวีดีโอที่มีกิจกรรมที่น่าสนใจสามารถนำไปใช้สอนเด็กพิเศษได้  ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
  • กิจกรรมลูกกลิ้ง
  • กิจกรรมผึ้งย้ายรัง  (ใช้การเครื่องไหวร่างกาย จินตนาการ และบทบาทสมมุติ)
  • กิจกรรมการหยิบ  ยก  ส่ง (ฝึกความพร้อม)
  • กิจกรรมการใช้ห่วง โดยเด็กจะกระโดดเข้าออกจากห่วงได้
  • กิจกรรม รับส่งลูกบอล (เด็กได้รู้จักทิศทาง เช่น การรับ ส่งลูกบอล)
  • กิจกรรมกิ้งกือ (เพลง หอยโข่ง)
เนื้อหาที่เรียน การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางภาษา
  • การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกสียง  
  • ติดอ่าง 

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่าพูดช้าๆ”  “ตามสบาย”  “คิดก่อนพูด
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กตอบ
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้ได้มากเท่าไหร่  ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์


ตัวอย่างการสอนตามเหตุการณ์


กิจกรรมที่ 3  ดนตรีบำบัดเด็กพิเศษ  
จับคู่ 2 คน จากนั้นฟังเสียงดนตรีที่อาจารย์เปิดแล้วให้ทั้งคู่ลากเส้นตรงไปพร้อมๆกันจนกว่าเสียงเพลงจะหยุด แล้วให้สังเกตดูเส้นที่ตัดกันให้ระบายสีลงไป

จากกิจกรรมเด็กได้
  • ฝึกสมาธิและการสังเกต 
  • เกิดทักทักษะด้านมิติสัมพันธ์ 
  • ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับเพื่อน 
  • มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
การนำไปใช้
  1. การนำกิจกรรมที่ได้จากการดู VDO ไปปรับใช้ในการสอนเด็กพิเศษหรือสอนเด็กปกติได้จริง
  2. ขณะที่เด็ํกพูดไม่ควรขัดจังหวะ ควรดูที่การสือความหมายของเด็กมากกว่าการออกเสียง
  3. การสอนตามเหตุการณ์ ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กพูดในสิ่งที่ต้องการ และในบริบทที่เด็กทำถ้าเด็กทำไม่ได้ ครูเข้าไปช่วยประครองมือทำ
การประเมิน
ประเมินตนเอง   เข้าห้องตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียนจดเนื้อหาเพิ่มเติม ตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน

 ประเมินเพื่อน  ส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามเสมอ

ประเมินอาจารย์    แต่งกายสุภาพ  เข้าสอนตรงเวลา  มีเทคนิคในการสอนที่สนุกและทำให้การเรียนเข้าใจง่ายขึ้น









บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7 
วันที่ 2 มีนาคม  พ.ศ.2558

ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมรถไฟแห่งชีวิต   
เป็นกิจกรรมก่อนเรียนโดยให้บรรยายความรู้สึกต่างๆจากคำถามที่ครูถามซึ่งเป็นคำถามทางจิตวิทยา สนุกๆ เพื่อให้ได้ผ่อนคลายก่อนเรียน




เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.ทักษะทางสังคม
  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรกๆ  เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน เเต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ 
  • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  • ครูจดบันทึก
  • ทำแผน IEP ครูต้องรู้จักเด็กคนนั้นอย่างแท้จริงจึงจะเขียนได้
การกระตุ้นการเลียนเเบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆ อย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกคน
  • ให้เล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน 
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน"ครู" ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ เมื่อเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  • เอาวัสดุอุปรกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาในการเล่น (การเอาของให้เด็กเล่น ควรให้จำนวนของเล่นครึ่งหนึ่ง ต่อเด็ก  )
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้เเรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  • ทำโดย"การพูดนำของครู"
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายเลยสำหรับเด็กพิเศษ
  • การให้โอกาสเด็ก
  • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
กิจกรรมดนตรีบำบัด เส้นและจุด



จากกิจกรรมดนตรีบำบัดเด็กพิเศษ    เป็นกิจกรรมที่ฝึกสมาธิได้ดีเมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมนี้เเล้วเด็กจะได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้ทักษะการปรับตัวอยู่ร่วมกับเพื่อน เกิดความคิดสร้างสรรค์จินตนาการ และเสียงดนตรีก็ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดีในการทำกิจกรรม

กิจกรรมร้องเพลง



การนำไปประยุกต์
  1. เมื่อเด็กหันมาหาครูควรให้แรงเสริมโดยพยักหรือยิ้มให้
  2. แก้ไขพฤติกรรมให้ความช่วยเหลือเด็กให้ตรงจุดปัญหาที่เด็กเป็น
  3. ไม่อ้างให้เด็กพิเศษมีอภิสิทธิเหนือกว่าเด็กปกติ
  4.  กิจกรรมดนตรีบำบัดนั้นสามารถนำไปใช้สอนสำหรับเด็กได้จริง มีประโยชน์สามารถพัฒนาได้ครบทั้ง4ด้าน



การประเมิน
ประเมินตนเอง   เเต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ กิจกรรมสนุกสนาน ผ่อนคลายก่อนเข้าสู่บทเรียน

ประเมินเพื่อน  เข้าห้องเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและจดบันทึกระหว่างเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามต่างๆได้เมื่ออาจารย์ถาม

ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  มีกิจกรรมใหม่ๆ สนุกๆมาให้ทำเสมอ และมีเพลงที่หลากหลายมาสอนร้องในแต่ละสัปดาห์เสมอ 














บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นสัปดาห์ช่วงสอบกลางภาค 2/2558