วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558


ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้ตอนเริ่มเรียนอาจารย์ให้วาดรูปดอกบัวตามแบบที่นำมาให้ดูพร้อมทั้งเขียนบรรยายตามสิ่งที่เห็นลงไป 




   จากนั้นเริ่มเข้าสู่บทเรียนโดยวันนี้เรียน

เรื่องบทบาทครูปฐมวัยในชั้นเรียนรวม

สิ่งที่ครูไม่ควรทำ
- ครูไม่ควรวินิจฉัยตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่างของเด็กได้ เพราะครูไม่ใช่แพทย์ที่จะตรวจโรคหรือวินิจฉัยอย่างละเอียดได้ดั้งนั้นสิ่งที่ครูวินิจฉัยอาจจะผิดพลาดและนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
- ครูไม่ควรตั้งชื่อ/ฉายาหรือระบุประเภทของเด็กควรมองให้เป็นเหมือนเด็กปกติคนหนึ่ง เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกไม่ดีหรือมีปมด้อยและเพื่อนๆอาจล้อเด็กตามที่ครูเรียกจะเป็นสิ่งที่อยู่กับเด็กตลอดไป
- ครูไม่ควรบอกผู้ปกครองว่าด็กมีบางอย่างผิดปกติ เพราะผู้ปกครองย่อมทราบว่าลูกมีความผิดปกติและไม่ต้องการฟังในสิ่งที่ตนรู้อยู่แล้ว ครูจึงควรที่จะรายพฤติกรรมด้านบวกของเด็กว่าเด็กทำอะไรได้บ้างและควรช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและแนวทางที่จะพัฒนาเด็ก

สิ่งที่ครูควรทำ
- ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กที่เกี่ยวกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
- ให้คำแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย (อย่างอ้อมๆ)
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบเพราครูได้อยู่ใกล้ชิดกับเด็กในช่วงเวลาที่ยาวนานจึงได้เห็นพฤติกรรมของเด็กอยู่ตลอดเวลาต่างจากแพทย์และนักจิตวิทยาดั้งนั้นครูจึงเป็นผู้สังเกตอย่างมีระบบได้ดีที่สุด
- จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ



การบันทึกการสังเกต
- การนับอย่างง่าย คือการนับพฤติกรรมผิดปกติของเด็กเป็นจำนวนครั้งในหนึ่งวัน/ชั่วโมง
- การบันทึกต่อเนื่อง คือการจดบันทึกพฤติกรรมรายละเอียดทุกอย่างที่เห็นในช่วงเวลาหรือกิจกรรมหนึ่งโดยไม่เข้าไปยุ่งหรือช่วยเหลือเด็ก
- การบันทึกไม่ต่อเนื่อง คือการบันทึกพฤติกรรมเด็กอย่างสั้นๆลงในบัตรเล็กๆเพื่อความรวดเร็วในการบันทึก

*ในการบันทึกแต่ละครั้งครูควรบันทึกตามสิ่งที่เห็นไม่ควรบันทึกตามความรู้สึกหรืออารมณ์ของตนเอง พฤติกรรมผิดปกติและไม่ดีบางอย่างอาจเป็นพฤติกรรมที่เด็กปกติก็ทำหรืออาจเป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้ขัดขวางต่อการเรียนรู้ครูจึงไม่ควรห้ามและมองข้ามไป



จากนั้นอาจารย์อาจารย์ให้นำรูปดอกบัวที่แต่ละคนวาดและเขียนอธิบายตามสิ่งที่่เห็น มาดูและชี้ให้เห็นถึงการจดบันทึพฤติกรรมเด็กควรจดตามสิ่งที่เห็นไม่ใช่สิ่งที่รู้สึก

ท้ายชั่วโมงอาจารย์สอนร้องเพลง

 1 เพลงฝึกกายบริหาร
 2 เพลงผลไม้
 3เพลงกินผักกัน
 4เพลงดอกไม้
 5เพลงจ้ำจี้ผลไม้









การนำไปประยุกต์ใช้

1 .ใช้ในการสังเกตและจดบันทึกพฤติกรรมเด็ก
2. ใช้เป็นแนวในการแนะนำผู้ปกครอง
3. สื่อสารกับผู้ปกครองอย่างเข้าใจ



การประเมินในห้องเรียน

ตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมมีการจดบันทึกขณะเรียน
เพื่อน : แต่งกายเรียบร้อยตั้งใจเรียน
อาจารย์ : สอนเข้าใจง่าย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น