บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมวันนี้
- ด้านซ้าย ถอดถุงมืออกมาแล้ววาดให้เหมือนจริง
- ด้านขาว ให้สวมถุงมือและสเก็ตรูปมือ
จากกิจกรรม จะเห็นได้ว่าการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของเด็กไม่ควรใช้การจำ
ควรบันทึกตามที่เด็กทำพฤติกรรมต่างๆในขณะนั้น ทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่คลาดเคลื่อน เปรียบเสมือนมือของเราที่เห็นอยู่ทุกวันแต่เราก็ยังไม่สามารถจดจำลายละเอียดได้ทั้งหมด
เนื้อหาที่เรียนในวันนี้เรื่อง
การสอนเด็กพิเศษเเละเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม
- อบรมระยะสั้น หรือ สัมมนา
- สื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ครู
การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็มักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่างกัน
- ครูมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษเท่ากัน
- รู้จักแต่เเต่ละคน
(ควรจำชื่อจริง ชื่อเล่นเด็กให้ได้ทุกคน)
- มองเด็กให้เป็น"เด็ก"
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
การเข้าใจพัฒนาการเด็กช่วยให้
ครูเข้าใจความเเตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ
- เเรงจูงใจ
- โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
- ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
- เมื่อเด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
- ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
- ครูต้องมีความสนใจเด็ก
- ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
- ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมที่ล่อใจเด็ก
- ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
- ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
- ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนานเด็กอยู่ด้วยจะได้สบายใจ
อุปกรณ์
- มีลักษณะง่ายๆ
- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
- เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ทัศนคติของครู
1. ความยืดหยุ่น
- การเเก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็กได้
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
ข้อนี้สำคัญมาก!
2. การใช้สหวิทยาการ
- ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลอาชีพอื่นๆ
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
3. เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
ครูไม่ควรมองเด็กแบบข้อนี้!
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
4. วิธีแสดงออกจากเเรงเสริมของผู้ใหญ่
- ตอบสนองด้วยวาจา เช่น คำชมต่างๆ
- การยืนหรือการนั่งใกล้เด็ก
- พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
- สัมผัสทางกาย
- ให้ความช่วยเหลือ
ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
เทคนิคการให้แรงเสริม
เเรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
- มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก
และมักเป็นผลในทันที
- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆ
ก็จะลดลงและหายไป
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
- ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมอันพึงประสงค์
- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
- ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท (prompting)
- ย่อยงาน
- ลำดับความยากง่ายของงาน
- การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
- การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
- สอนจากง่ายไปยาก
- ให้เเรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้
หรือเพื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
- ลดการบอกบท
เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวในขั้นต่อไป
- ให้เเรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ไกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
- ทีละขั้นไม่เร่งรัด"ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่
ยิ่งดีเท่านั้น"
- ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
- จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
- พฤติกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน
- เช่น การเข้าห้องน้ำ
การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า
หรือย้อนมาจากข้างหลัง
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือของเล่นของไปจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากการเล่น
ความคงเส้นคงวา
- ครูเริ่มกับเด็กมาอย่างไรต้องปฏิบัติแบบเดิมกับเด็ก
การนำไปใช้
- การสังเกตเด็กต้องบันทึกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงและไม่ควรใช้การจำแล้วค่อยมาบันทึกเพราะจะทำให้ข้อมูลที่ได้คลาดเคลื่อน
- การปรับตัวให้มีทัศนะคติที่ดีกับเด็กเชื่อว่าเด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
- การนำการย่อยงานไปสอนเพื่อให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น
- การนำเทคนิคการเสริมแรงและลดแรงเสริมไปใช้เพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าห้องตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรม อาจจะพูดมากในเวลาเรียนบางครั้ง แต่ก็มีจดเนื้อหาเพิ่มเติมบ้าง เข้าใจในบทเรียน
ประเมินเพื่อน เเต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนมีจดเนื้อหาเพิ่มเติมและมีส่วนร่วมในการเรียน ตอบคำถามได้เมื่ออาจารย์ถาม ช่วยเก็บอุปกรณ์หลังทำกิจกรรทำเสร็จ
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ใจดี น่ารัก เป็นที่ปรึกษาของนักศึกษาได้ดี เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีกิจกรรมมาให้ทำก่อนเรียนเสมอสอนเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ และได้ทบทวนเพลงที่ืเคยร้องไป